คอนโดพร้อมอยู่
คอนโดราคาเบาๆ
คอนโดในเมือง
คอนโดเปิดขายใหม่
คอนโดแนวรถไฟฟ้า
Sports lover
คอนโดชายทะเล

รู้จักแอล.พี.เอ็น.

เราเป็นกลุ่มบริษัทผู้พัฒนาที่พักอาศัยในเมืองที่บูรณาการอย่าง ครบถ้วนและครบวงจร ด้วยความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโครงการ คุณภาพในราคาที่เหมาะสม

  • รู้จักเรา
  • ประวัติบริษัท
  • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
  • LPN Way
  • การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • รางวัลที่ได้รับ
  • แบรนด์ในเครือ
  • ผลงานของเรา

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริษัทนำหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Triple Bottom Line) ที่ให้ความสำคัญกับ 3 องค์ประกอบสุดท้าย ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน ภายใต้กลยุทธ์ 6 GREEN LPN ที่รับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 8 กลุ่ม ใน 10 กระบวนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรักษาสมดุล และสร้างการเติบโตที่มั่นคง

การพัฒนาอย่างยั่งยืน
3p
3p
3p
3p
3p
3p
6g
8s
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
3p
3p
3p
3p
3p
3p

หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การกำหนดเป้าหมายสุดท้ายในการดำเนินงานทุกภาคส่วนของบริษัท คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต่อผู้มีส่วนได้เสีย ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • Profit Economy

    เป้าหมายในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญของบริษัท คือการสร้างสมดุลของผลตอบแทนหรือกำไร ในการดำเนินงานที่พอประมาณและต่อเนื่อง บนพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบในการประกอบกิจการด้วยความโปร่งใสและเปิดเผย บริหารความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม รวมถึงคำนึงถึงการแบ่งป็นผลตอบแทนไปสู่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

  • People Society

    บริษัทคำนึงอยู่เสมอว่า ธุรกิจนั้นจะเติบโตได้ด้วยพื้นฐานของสังคมที่ดี มีคุณภาพ มีความปลอดภัย การรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะบุคลากรภายในเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงสังคมภายนอกคู่ค้า ลูกค้า และผู้พักอาศัยในโครงการ รวมถึงชุมชนข้างเคียง (เพื่อนบ้าน) แรงงาน ก่อสร้าง ตลอดจนสภาพสังคมโดยรวมของประเทศ

  • Planet Environment

    ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีบทบาทและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายมิติ บริษัทจึงให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดผลกระทบจากการพัฒนาโครงการในกระบวนการ (in process) ตั้งแต่กระบวนการออกแบบและกระบวนการก่อสร้าง รวมทั้งดูแลสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนและชุมชนข้างเคียงภายหลังส่งมอบ

6 กรีน แอล.พี. เอ็น.

ตลอดระยะเวลากว่า 26 ปีของการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างจริงจังในทุกกระบวนการ ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวคิด 6 GREEN LPN ที่กลั่นกรองจากประสบการณ์การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการบริหารชุมชน เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการสร้างสมดุลอย่างยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ปัจจุบันแนวคิด 6 GREEN LPN ครอบคลุมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งหมด 6 ประการ ได้แก่

  • Green Enterprise

    การดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญ กับการบริหารจัดการ และทุนมนุษย์

  • Green Design Concept

    การออกแบบผลิตภัณฑ์ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

  • Green Financial Management

    การกำหนดผลตอบแทนและการเติบโตขององค์กรให้เหมาะสม

  • Green Marketing Management

    การตลาดที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคและคู่แข่ง

  • Green Construction Process

    การบริหารจัดการผลกระทบที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมในกระบวนการก่อสร้าง

  • Green Community Management

    การดูแลและบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการหลังส่งมอบ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บริษัทสามารถระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลัก (First Tier) ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในกระบวนการต่างๆ โดยพิจารณาจากการประเมินความเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในด้านความสำคัญที่มีผลต่อบริษัทและการดำเนินงาน และผลกระทบที่ได้รับจากการดำเนินงานของบริษัท เพื่อให้สามารถระบุความสำคัญ วางกลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วม และกำหนดกรอบการดำเนินงาน เพื่อลดผลกระทบที่มีความสำคัญแก่ ผู้มีส่วนได้เสีย โดยกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์กร แบ่งออกเป็น 8 กลุ่มดังนี้

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ผู้ถือหุ้น

    หมายถึง ผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งในฐานะบริษัท กองทุน และบุคคล ที่ได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงาน ซึ่งให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการ ตามหลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

  • พนักงาน

    หมายถึง ผู้ที่ทำงานให้แก่บริษัท ช่วยขับเคลื่อนให้การดำเนินงานของบริษัทก้าวไป ข้างหน้าอย่างยั่งยืน โดยหมายรวมถึงพนักงานในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ จนถึงระดับบริหาร

  • ลูกค้า

    หมายถึง ผู้ที่ให้ความสนใจห้องชุดของบริษัท และได้ดำเนินการจองซื้อและชำระเงินค่าผ่อนดาวน์ ซึ่งในอนาคตเมื่อโครงการพัฒนา เสร็จสมบูรณ์ ลูกค้าจะพัฒนาไปสู่การเป็นผู้อยู่อาศัย

  • LPN Team

    หมายถึง คู่ค้าหรือปิยมิตร ผู้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบวางผังโครงการ และการก่อสร้างของบริษัท เสมือนหนึ่งเป็นพนักงาน In-house ของบริษัท เพื่อให้การบริหารโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

  • บ้านข้างเคียง

    หมายถึง ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ติดหรือใกล้กับโครงการ ที่กำลังดำเนินงานก่อสร้างของบริษัทซึ่งได้รับผลกระทบตั้งแต่เริ่มพัฒนาโครงการ จนถึงผลกระทบจากการอยู่อาศัยภายหลังการส่งมอบโครงการ

  • ผู้อยู่อาศัย

    หมายถึง ผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการที่ได้ส่งมอบแล้วของบริษัท ไม่ว่าจะในฐานะลูกค้าที่ซื้อห้องชุดในโครงการ หรือผู้ที่เช่าพักอาศัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่บริษัทให้การดูแล

  • แรงงานก่อสร้าง

    หมายถึง แรงงานของ LPN Team (ปิยมิตร) ที่รับจ้างทำงานก่อสร้างโครงการให้บริษัท ทั้งแรงงานที่มีสัญชาติไทยและแรงงานต่างด้าว

  • สิ่งแวดล้อม

    หมายถึง องค์ประกอบของความยั่งยืนที่เป็นพื้นฐานในการประกอบกิจการ ซึ่งธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลกระทบโดยตรง บริษัทจึงมุ่งเน้นการดูแลและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบบริเวณโครงการเป็นสำคัญ

10 ห่วงโซ่คุณค่า แอล.พี.เอ็น.

ไม่เพียงแต่ตั้งปณิธานในการเป็น “องค์กรคุณค่า” ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและทุนมนุษย์ บริษัทยังคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในทุกกระบวนการดำเนินงาน

ซึ่งโดยทั่วไป ความรับผิดชอบของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักจะสิ้นสุดที่การส่งมอบผลิตภัณฑ์ หรือห้องชุดแก่ลูกค้า แต่ในทางกลับกัน บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในโครงการ ซึ่งไว้วางใจในการเลือกซื้อห้องชุดภายใต้แบรนด์ “ลุมพินี” จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาแนวคิดการบริการหลังการขาย “ชุมชนน่าอยู่” ที่ต่อยอดการบริหารอาคารสู่การบริหารชุมชนมากว่า 20 ปี ทำให้ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องของบริษัทในกระบวนการดำเนินธุรกิจนั้น เริ่มตั้งแต่ระดับนโยบายในการบริหารจัดการภายในองค์กร ไปจนถึง 10 กระบวนการหลักในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท อันได้แก่

  • การเลือกทำเล

    วางแนวคิดและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการพัฒนา โดยมีแนวคิด 2 รูปแบบ ได้แก่ โครงการนำร่อง (Pilot Project) คือ การพัฒนาโครงการในทำเลใหม่ๆ ที่ยังไม่มีคู่แข่ง หรือ ทำเล Blue Ocean Location และโครงการต่อเนื่อง (Expanded Project) คือ การขยายการพัฒนาโครงการในทำเลที่ประสบความสำเร็จ แต่ยังคงมีความต้องการที่พักอาศัยอยู่

  • การซื้อที่ดิน

    ผู้บริหารจะตัดสินใจซื้อที่ดินโดยพิจารณาจากประสบการณ์และวิสัยทัศน์ รวมทั้งข้อมูลของสำนักวิจัยและพัฒนา (R&D) และฝ่ายการตลาด (Marketing) ที่ศึกษาอุปสงค์ อุปทาน และความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ (Feasibility) เพื่อให้โครงการเหมาะสมสอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กรและตามความต้องการของลูกค้า

  • การออกแบบโครงการ

    ออกแบบและวางผังโครงการตาม LPN Green Standard Checklist ซึ่งบริษัทพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ของสหรัฐอเมริกา (LEED - Leadership in Energy and Environment Design) โดยพิจารณาผลกระทบในทุกด้านต่อผู้มีส่วนได้เสีย

  • การบริหารจัดการทางการเงิน

    เริ่มตั้งแต่การกำหนดการเติบโตและผลตอบแทนของผู้มีส่วนได้เสียให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร (Business Plan) ในแต่ละปี จัดทำต้นทุนการก่อสร้างและกำไรรายโครงการให้เหมาะสม (Profit and Loss) และจัดทำงบการเงินที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ โดยทุกขั้นตอนเน้นที่ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ไม่มีวาระซ่อนเร้น และมีการบริหารความเสี่ยงทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ

  • การให้ความสำคัญกับลูกค้า

    ยึดหลัก “Customer Centric” หรือการให้ความสำคัญกับลูกค้า ด้วยนโยบายในการสร้างบ้านหลังแรกให้แก่ ผู้ที่ยังไม่มีบ้าน เป็นการคืนกำไรให้แก่ลูกค้าและสังคม นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิของผู้บริโภค และการดำเนินงานตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า

  • การบริหารประสบการณ์ลูกค้า

    ความเชื่อมั่นในแบรนด์ เป็นหัวใจสำคัญในการบริหารประสบการณ์ลูกค้า โดยในทุกจุดสัมผัส (Touch Point) จะมีการกำหนดมาตรฐานการบริการ รวมถึงเป็ดให้มีช่องทางสื่อสารต่างๆ ที่ลูกค้าสามารถสะท้อนความคิดเห็นกลับมายังบริษัทได้ เพื่อรับฟังและปรับปรุงบริการ

  • การบริหารโครงการ

    การก่อสร้างถือเป็นกระบวนการที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากที่สุด ผู้ประกอบการจึงควรมีความรับผิดชอบ เพื่อลดความรุนแรงของปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นที่มาของกลยุทธ์การบริหารโครงการ Q-C-S-E-S+P ของบริษัท เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วน

  • การส่งมอบห้องชุด

    การตรวจคุณภาพมาตรฐานของห้องชุดและพื้นที่ส่วนกลางก่อนการส่งมอบเพื่อ “ชุมชนน่าอยู่” ที่สมบูรณ์แบบมีความปลอดภัยและอุปกรณ์ต่างๆ ที่พร้อม ใช้งาน นอกจากนั้น ยังให้บริการลูกค้าในการโอนกรรมสิทธิ์ เพื่ออำนวยความสะดวก

  • การเข้าพักอาศัย

    การอยู่อาศัยร่วมกันของคนหมู่มากจำเป็นต้องมีข้อตกลงและกฎระเบียบร่วมกัน เพื่อความเป็นระเบียบและก่อนการเข้าพักอาศัย บริษัทได้มีการสื่อสารและทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางในการบริหารชุมชนของบริษัท ตามแนวทาง “ชุมชนน่าอยู่” กับผู้อยู่อาศัยในชุมชน เพื่อให้เกิดการยอมรับและอยู่อาศัยอย่างมีความสุข

  • การบริหารชุมชน

    กลยุทธ์หลักที่สำคัญขององค์กร คือ การดูแลคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยภายใต้กลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” ซึ่งไม่เพียงดูแลบริหารอาคาร แต่ยังให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อมที่ดี และสร้างวัฒนธรรมการอยู่อาศัย “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน”